การใช้มันสำปะหลัง เป็นอาหารปลา
เอกสารวิชาการนี้ เรียบเรียงโดย รองศาสตราจารย์อุทัย คันโธ ศูนย์ค้นคว้าและพัฒนาวิชาการอาหารสัตว์ สถาบันสุวรรณวาจกกสิกิจฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน นครปฐม
มันสำปะหลังจัดว่าเป็นวัตถุดิบอาหารแป้ง หรือวัตถุดิบอาหารพลังงานที่มีราคาถูกเมื่อเทียบกับวัตถุดิบอาหารพลังงานอื่นๆ เช่น ปลายข้าว และข้าวโพด นอกจากนี้การปลูกมันสำปะหลังยังมีกระจายทั่วประเทศ ทั้งในเขตภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคตะวันตกของประเทศไทย ยกเว้นเพียงภาคใต้ของประเทศไทยเท่านั้นที่ไม่มีการปลูกมันสำปะหลัง มันสำปะหลังสามารถใช้เป็นวัตถุดิบอาหารทดแทนข้าวโพดและปลายข้าวได้ดีในสูตรอาหารสัตว์ทุกชนิด รวมทั้งในอาหารสัตว์น้ำด้วย จากผลการวิจัยการใช้มันสำปะหลังเป็นอาหารสัตว์ชนิดต่างๆ รวมทั้งจากผลการใช้มันสำปะหลังเป็นอาหารสัตว์ชนิดต่างๆ ในภาคสนาม และการใช้มันสำปะหลังเป็นอาหารสัตว์น้ำด้วย พบว่า มันสำปะหลังสามารถทดแทนข้าวโพดและปลายข้าวในอาหารสัตว์ทุกชนิด รวมทั้งในอาหารสัตว์น้ำ โดยไม่มีผลกระทบต่อสมรรถภาพการผลิตและการสืบพันธุ์แต่ประการใด นอกจากนี้ มันสำปะหลังยังมีข้อดีเหนือกว่าการใช้ปลายข้าวและข้าวโพดตรงที่สูตรอาหารมันสำปะหลังสามารถกระตุ้นภูมิกันโรคของสัตว์ให้สูงขึ้น สัตว์เลี้ยงมีความทนทานต่อโรคมากขึ้น อัตรารอดชีวิตมากขึ้น สามารถลดการใช้ยาในการเลี้ยงสัตว์ลงได้มาก หรือไม่ต้องใช้เลย มันสำปะหลังจึงเป็นวัตถุดิบอาหารที่เหมาะสมในการเลี้ยงสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง
1. การใช้มันสำปะหลังเป็นอาหารสัตว์น้ำ
มันสำปะหลังสามารถใช้เป็นอาหารสัตว์น้ำได้ 2 รูปแบบ คือ
1.1 การใช้ในรูปหัวมันสำปะหลังสด นำมาผ่านการต้มหรือนึ่งให้สุกและผสมกับวัตถุดิบอาหารชนิดอื่นๆ เพื่อให้ได้อาหารสัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางอาหารครบตามความต้องการของสัตว์น้ำที่จะเลี้ยง โดยทั่วไปมักใช้กับการเลี้ยงสัตว์น้ำในรูปอาหารปั้น(dough หรือ paste feed) เท่านั้น
1.2 การใช้ในรูปมันสำปะหลังแห้ง หรือมันเส้น โดยทำการบดมันเส้นให้ละเอียด แล้วผสมกับวัตถุดิบอาหารชนิดอื่นๆ เพื่อให้ได้อาหารสัตว์น้ำที่มีคุณค่าทางอาหารครบตามความต้องการของสัตว์น้ำที่จะเลี้ยง จากนั้นจึงทำการแปรสภาพอาหารให้เป็นอาหารปั้นก็ได้ หรือเป็นอาหารเม็ดนิ่ม โดยใช้เครื่องอัดเม็ดแบบมินเซอร์ หรือเป็นอาหารเม็ดลอยน้ำ โดยเครื่องอัดเม็ดแบบเอ็กทรูเดอร์ก็ได้แต่ความต้องการของเกษตรกร
การใช้มันสำปะหลังในรูปมันเส้นจะมีความสะดวกสบายมากกว่าการใช้มันสำปะหลังในรูปหัวมันสด ทั้งนี้เพราะมันเส้นสามารถหาซื้อได้ทั่วไป สะดวกในการขนส่งและเก็บรักษา สามารถเก็บไว้ได้นานโดยไม่เสีย มันเส้นที่แห้งและบดละเอียดแล้วเก็บใส่กระสอบอาหารสามารถเก็บได้เป็นเวลา 8-10 เดือน โดยไม่มีมอดมากิน
การใช้หัวมันสำปะหลังสดจะมีความยุ่งยากและมีความไม่สะดวกในการใช้ผสมอาหารสัตว์น้ำมากกว่า ทั้งนี้เนื่องจากหัวมันสำปะหลังสดต้องใช้ผสมอาหารอย่างรวดเร็วเมื่อขุดขึ้นมาจากดินและหัวมันสำปะหลังถูกตัดออกมาจากต้นแล้ว ทั้งนี้เนื่องจากหัวมันสำปะหลังจะมีการเน่าเสียและเปอร์เซ็นต์แป้งในหัวมันจะลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อหัวมันสำปะหลังถูกขุดขึ้นมาจากดิน ทำให้เกษตรกรต้องซื้อหัวมันสดทุกวันและซื้อเฉพาะส่วนที่ใช้ผสมในวันนั้นเท่านั้น แม้หัวมันสำปะหลังสดจะมีราคาต่อกิโลกรัมถูกกว่ามันเส้น แต่หัวมันสดมีน้ำเป็นองค์ประกอบถึง 65-75% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฤดูการขุดหัวมันสำปะหลังด้วย จึงทำให้หัวมันสดมีส่วนที่มีคุณค่าทางอาหารและเป็นประโยชน์ต่อปลาจริงๆ เพียง 25-35% ของมันเส้นเท่านั้น นอกจากนี้เกษตรกรต้องเสียค่าขนส่งน้ำในหัวมันสำปะหลังสดมาที่ฟาร์มของเกษตรกรด้วยยิ่งทำให้ต้นทุนการใช้หัวมันสำปะหลังสดแพงมากขึ้นไปอีก ในการนำหัวมันสดไปเลี้ยงปลาเกษตรกรต้องมีการนึ่งแป้งในหัวมันสดให้สุกเพื่อให้สัตว์ใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ และเพื่อการลดปริมาณสารพิษกรดไฮโดรไซยานิคด้วย ซึ่งเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายทั้งในแง่การลงทุนและค่าใช้จ่ายในการผลิตอาหารสัตว์น้ำด้วย ที่สำคัญคือการใช้หัวมันสดเลี้ยงสัตว์น้ำจะกระทำได้สะดวกเฉพาะการเลี้ยงสัตว์น้ำที่อยู่ใกล้พื้นที่ที่มีการปลูกมันสำปะหลัง เพราะถ้าหากไกลมากค่าขนส่งหัวมันสดจะเป็นต้นทุนทำให้อาหารสัตว์ที่ผลิตได้มีราคาแพงขึ้น
2. กระบวนการผลิตมันเส้นเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์
กระบวนการแปรรูปมันสำปะหลังเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ มักใช้วิธีการแปรรูปเป็นมันเส้น ได้แก่ การนำเอาหัวมันสดที่ขุดขึ้นมาจากดินมาหั่นเป็นชิ้นๆ ให้มีขนาดเล็กลง แล้วผึ่งแดดให้แห้ง ชิ้นมันสำปะหลังที่แห้งแล้วเรียกว่ามันเส้น กระบวนการผลิตมันเส้นมีขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
2.1 ต้นมันสำปะหลังพร้อมจะเก็บเกี่ยวหัวสดควรมีอายุ 10-12 เดือน
2.2 หัวมันสำปะหลังจะถูกเก็บเกี่ยวหรือขุดขึ้นมาจากดินโดยแรงงานคน
2.3 มันสำปะหลังจะถูกตัดออกจากต้นให้เป็นหัวเดี่ยวๆ โดยไม่มีส่วนเหง้าปน
2.4 หัวมันสำปะหลังถูกขนมายังลานมันสำปะหลัง
2.5 หัวมันสำปะหลังจะถูกร่อนแยกเอาดินทรายที่ติดมากับหัวมันออก
2.6 หัวมันสดที่ผ่านการร่อนแล้วจะถูกหั่นเป็นชิ้นเล็กๆโดยเครื่องหั่นหัวมันสด
2.7 ชิ้นมันสดจะถูกตากแดดโดยการโรยเป็นชั้นบางๆบนลานตาก พร้อมมีการกลับชิ้นมันวันละ 4-5 ครั้ง ทำการตากเป็นเวลา 3-4 แดด กลางคืนเก็บกองรวม ชิ้นมันสดจะมีความชื้นลดลงเหลือไม่มากกว่า 14% ซึ่งเป็นมันเส้นที่พร้อมใช้เลี้ยงสัตว์ได้
2.8 บดชิ้นมันเส้นให้มีขนาดเล็กลงเป็นผงละเอียด พร้อมใช้ผสมในสูตรอาหารสัตว์
หัวมันสำปะหลังที่ขุดขึ้นมากจากพื้นดินจะมีสารพิษกรดไฮโดรไซยานิคหรือไซยาไนด์เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยในปริมาณสูงจึงไม่สมควรใช้หัวมันสำปะหลังสดเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งสัตว์น้ำด้วย แต่การแปรรูปหัวมันสำปะหลังสดเป็นมันเส้น โดยการหั่นหัวมันสดเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วผึ่งแดดให้แห้ง กระบวนดังกล่าวจะกระตุ้นให้มีการระเหยของสารไซยาไนด์จากชิ้นมันออกสู่บรรยากาศ และทำให้ระดับไซยาไนด์ในชิ้นมันสดลดลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อชิ้นมันแห้ง หรือเป็นมันเส้น ไซยาไนด์ที่เหลืออยู่ในชิ้นมันมีปริมาณต่ำมากไม่เกิน 30 พีพีเอ็ม(สามสิบในล้านส่วน) ซึ่งไม่เป็นอันตรายและไม่มีผลกระทบต่อตัวสัตว์ ขณะที่มันเส้นถูกเก็บไว้ก่อนการนำไปใช้เลี้ยงสัตว์ ระดับไซยาไนด์ดังกล่าวยิ่งลดลงอย่างต่อเนื่อง จากการวิจัยในระยะหลังพบว่าไซยาไนด์ในระดับต่ำที่หลงเหลือในมันเส้นจะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันโรคของสัตว์ ช่วยทำให้สัตว์มีความแข็งแรงและมีความทนทานต่อการเกิดโรคได้มาก ซึ่งเป็นความสามารถเฉพาะตัวที่วัตถุดิบอาหารชนิดอื่นไม่มี
อธิบายจากรูปภาพ
1. หัวมันสำปะหลังที่เก็บเกี่ยวแล้วถูกขนส่งมายังลานมันสำปะหลัง
2. หัวมันสำปะหลังผ่านเครื่องร่อนดินทรายออก
3. หัวมันสำปะหลังถูกหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
4. ชิ้นมันสำปะหลังตากแดดบนลานซีเมนท์เป็นเวลา
3-4 แดด
5. ชิ้นมันสำปะหลังที่แห้งแล้วเรียกว่ามันเส้น
พร้อมที่จะนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์
1.
คุณภาพมันสำปะหลังที่ใช้เป็นอาหารสัตว์
มันสำปะหลังหรือมันเส้นที่ใช้เลี้ยงสัตว์น้ำควรเป็นมันเส้นที่มีคุณภาพดี
โดยมีคุณสมบัติดังนี้ คือ
ความชื้น ไม่เกิน
14%
กากหรือเยื่อใย ไม่เกิน
4%
ทราย ไม่เกิน
2%
คาร์โบโฮเดรตย่อยง่าย(NFE) ไม่น้อยกว่า 75%
หากเกษตรกรเลือกซื้อมันเส้นที่แห้งผ่านการผึ่งแดดเต็มๆ
มาอย่างน้อย 3-4 แดด
มันเส้นนั้นก็จะมีความชื้นและกรดไฮโดรไซยานิคต่ำลงจนไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์
ยิ่งเกษตรกรเก็บสต๊อคมันเส้นดังกล่าวก่อนใช้ผสมอาหารเป็นเวลา 3-5 วัน
ก็จะยิ่งเพิ่มความปลอดภัยการใช้มันสำปะหลังเป็นอาหารสัตว์น้ำมากขึ้น
มันเส้นควรมีการปนเปื้อนของต้นและเหง้าน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย
รวมทั้งมีการปนเปื้อนของดินและทรายน้อยที่สุดด้วย
มันเส้นดังกล่าวจะมีคุณสมบัติตามข้างต้นและมีคุณภาพดีเพียงพอใช้เป็นอาหารสัตว์น้ำได้เป็นอย่างดี 2.
ข้อดีการใช้มันสำปะหลังเป็นอาหารสัตว์น้ำ
จากข้อมูลการวิจัย และจากผลการใช้มันสำปะหลังเป็นอาหารทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำโดยเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์
พบว่าได้ข้อมูลตรงกัน
และสามารถสรุปผลดีของการใช้มันสำปะหลังเป็นอาหารสัตว์น้ำได้ดังนี้
2.1 แป้งในมันสำปะหลังเป็นแป้งอ่อน ทำให้สุกง่าย
สัตว์น้ำสามารถย่อยและใช้ประโยชน์ได้ดี ช่วยทำให้สัตว์มีอัตราการเติบโตดี น้ำในบ่อเลี้ยงมีโอกาสเน่าเสียน้อยลง
2.2 มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อราและสารพิษจากเชื้อราน้อยมากหรือไม่มีเลย
เนื่องจากมันเส้นมีสภาพเป็นกรดอ่อนๆ
จึงถือว่ามันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบอาหารที่ปลอดการปนเปื้อนสารพิษเชื้อรา
มีความปลอดภัยสูงสุดในการใช้เป็นอาหารสัตว์ รวมทั้งอาหารสัตว์น้ำ
2.3 มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบอาหารมาจากดิน
และมีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่
จุลินทรีย์ผลิตกรดแลคติคต่างๆ เช่นแลคโตบาซิลลัส ไบฟิโดแบคทีเรียม รวมทั้งยีสต์
ซึ่งมีผลช่วยให้ทางเดินอาหารสัตว์จุลินทรีย์กลุ่มนี้มากขึ้น
และไปยับยั้งการเติบโตของจุลินทรีย์กลุ่มที่เป็นโรคทำให้สัตว์น้ำมีสุขภาพดีขึ้น
และมีความทนทานต่อโรคมากขึ้น
2.4 มันสำปะหลังที่ตากแห้งแล้วจะยังมีปริมาณกรดไฮโดรไซยานิคในระดับต่ำที่ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำหลงเหลืออยู่
ซึ่งกรดไฮโดรไซยานิคจำนวนนี้เมื่อเข้าไปร่างกายของสัตว์
ตัวสัตว์น้ำจะเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของสารไธโอไซยาเนตเพื่อขับถ่ายออกนอกร่างกาย
แต่ระหว่างที่อยู่ในร่างกาย สารไธโอไซยาเนตจะไปกระตุ้นเอ็นไซม์เปอร์ออกซิเดส
ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยลดความเครียดของร่างกาย
นอกจากนี้สารดังกล่าวยังไปกระตุ้นการสังเคราะห์สารกลูตาไธโอนและลิมไฟโซท์ในร่างกายที่มีหน้าที่ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคของตัวสัตว์อีกด้วย
จึงมีผลทำให้สัตว์น้ำที่เลี้ยงด้วยอาหารมันสำปะหลังมีภูมิคุ้มกันโรคสูงขึ้น
และมีความทนทานต่อการเกิดโรคสูงมากขึ้นด้วยเช่นกัน
2.5 แป้งในมันสำปะหลัง เมื่อเกิดการสุกในระหว่างกระบวนการผลิตอาหารจะเกิดความเหนียว
และทำหน้าที่เป็นตัวประสานเม็ดอาหารอย่างดี ทำให้อาหารไม่แตกตัวง่าย
นอกจากนี้แป้งในมันสำปะหลังเมื่อสุกจะมีการพองตัวดี
จึงเหมาะเป็นวัตถุดิบอาหารแป้งในอาหารที่ต้องการอัดเม็ดเพื่อให้เกิดการพองตัวและให้ลอยน้ำด้วย
2.6 สิ่งสำคัญมันสำปะหลังมีราคาถูก
เมื่อเทียบกับวัตถุดิบอาหารแป้งอย่างอื่นๆ เช่นข้าวโพดและปลายข้าว
อีกทั้งหาซื้อได้ง่าย มีปลูกเกือบทุกภาคของประเทศไทย
การใช้มันสำปะหลังในสูตรอาหารช่วยทำให้ราคาสูตรอาหารสัตว์น้ำถูกลง
ในขณะที่อาหารมันสำปะหลังหากมีการปรับโภชนะต่างๆ ครบตามต้องการของสัตว์น้ำจะทำให้การเติบโตปริมาณเนื้อปลาและประสิทธิภาพการใช้อาหารของปลาไม่แตกต่างจากสูตรอาหารข้าวโพดหรือปลายข้าวแต่ประการใด
แต่การใช้มันสำปะหลังในสูตรอาหารช่วยให้สัตว์น้ำมีความแข็งแรงมากขึ้น
ไม่ป่วยเป็นโรคง่าย อัตราการตายต่ำ การใช้มันสำปะหลังในสูตรอาหารสัตว์น้ำจึงช่วยลดต้นทุนการผลิตสัตว์น้ำได้เป็นอย่างดี
3.
ตัวอย่างสูตรอาหารสัตว์น้ำชนิดต่างๆ
ที่ใช้มันสำปะหลังเป็นองค์ประกอบ
ตัวอย่างสูตรอาหารสัตว์น้ำชนิดต่างๆ
ที่ใช้มันสำปะหลังเป็นองค์ประกอบของอาหารได้แสดงไว้ในตารางข่างล่าง เกษตรกรสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมของวัตถุดิบอาหารชนิดต่างๆ
ที่หาได้ รวมทั้งตามความเหมาะสมของราคาสูตรอาหารด้วย
วัตถุดิบ
|
ปลาดุกเล็ก
|
ปลาดุกกลาง
|
ปลาดุกใหญ่
|
มันเส้นบด
|
23
|
28
|
32
|
รำละเอียดหรือรำสกัด
|
6
|
12
|
16
|
กากถั่วเหลือง
|
36
|
28
|
28
|
ถั่วเหลืองเอ็กทรูด
|
18
|
15
|
8
|
ปลาป่น
โปรตีน 64%
|
17
|
17
|
16
|
เกลือ
|
0.40
|
0.40
|
0.40
|
พรีมิกซ์
|
0.30
|
0.30
|
0.30
|
|