กรรมวิธีการผลิตอาหารปลาโดยใช้มันสำปะหลัง
สัตว์น้ำเป็นสัตว์ที่กินอาหารในน้ำ
เพราะฉะนั้นการให้อาหารสัตว์น้ำจึงจำเป็นที่จะต้องทำอาหารให้เป็นเม็ด
โดยจะเป็นเม็ดอาหารจมน้ำ หรือเม็ดอาหารลอยน้ำ หรือจะปั้นเป็นก้อนก็ได้ เพื่อให้สัตว์น้ำสามารถกินวัตถุดิบอาหารทุกชนิดในสูตรอาหารได้ครบถ้วนพร้อมกัน
แต่อาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์น้ำต้องมีความคงทนในน้ำได้ดี
เม็ดหรือก้อนอาหารไม่ยุ่ยหรือไม่แตกง่าย อาหารต้องอยู่ในสภาพที่เป็นอาหารผสม
ไม่แตกตัวจนกว่าสัตว์น้ำจะกินอาหารหมด นอกจากนี้สัตว์น้ำเป็นสัตว์ที่มีทางเดินอาหารสั้นเมื่อเทียบกับสัตว์บก
ทั้งนี้อาจเนื่องจากอาหารสัตว์น้ำในธรรมชาติทั้งอาหารที่เป็นพืชและแพลงค์ตอนต่างๆ
รวมทั้งอาหารจากสัตว์ เช่น สัตว์น้ำขนาดเล็ก ลูกสัตว์วัยอ่อน มีการย่อยได้ง่าย
จึงทำให้สัตว์น้ำโดยทั่วไปมีระบบทางเดินอาหารสั้นและกิจกรรมน้ำย่อยแป้งต่ำ
แต่ในการเลี้ยงสัตว์น้ำเชิงอุตสาหกรรมจำเป็นต้องมีการเสริมอาหารให้กับสัตว์น้ำ
โดยวัตถุดิบอาหารส่วนใหญ่เป็นพืชจากบนบกและมีการย่อยได้ของแป้งยากกว่าแป้งจากพืชน้ำ
ดังนั้นในกระบวนการผลิตอาหารสัตว์น้ำจึงจำเป็นต้องทำให้แป้งในอาหารสุกมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ก่อนนำไปเลี้ยงสัตว์น้ำ
ทั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยทำให้แป้งจากวัตุดิบอาหารบนบกสามารถย่อยได้ดีโดยสัตว์น้ำนั่นเอง
หลักในการผลิตอาหารสัตว์น้ำให้มีลักษณะดังกล่าวข้างต้น
ต้องประกอบไปด้วยกระบวนการต่างๆ ดังนี้ คือ
1.
การบดวัตถุดิบอาหารให้มีความละเอียด
2.
การผสมอาหารแต่ละชนิดในสูตรอาหารให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน
3.
การทำอาหารที่ผสมแล้วเป็นอาหารปั้นหรือก้อน
การทำเป็นอาหารเม็ดแบบจมน้ำ หรืออาหารเม็ดลอยน้ำ
ในกระบวนการผลิตอาหารข้างต้น โดยเฉพาะกระบวนการอัดเม็ดจะมีความร้อนเกิดขึ้น
ความร้อนดังกล่าวจะต้องช่วยทำให้แป้งในอาหารสุกมากพอที่จะทำให้สัตว์น้ำสามารถย่อยและใช้ประโยชน์ได้ดี
แต่ถ้ากระบวนการอัดเม็ดหรือปั้นก้อนไม่สามารถทำให้เกิดความร้อนได้เพียงพอจนแป้งสุก
ผู้ผลิตอาหารจะต้องใช้วิธีทำให้แป้งในวัตถุดิบอาหารสุกก่อนมาอัดเม็ดอาหาร เช่น
ใช้วิธีต้มวัตถุดิบอาหารที่เป็นแป้งให้สุกก่อน
หรืออาจเลือกใช้วัตถุดิบอาหารที่สุกแล้ว เช่น เศษหมื่ เศษก๋วยเตี๋ยว เศษข้าวสุก
แป้งข้าวโพดหรือแป้งปลายข้าวเอ็กทรูด ฯลฯ เป็นอาหารสัตว์น้ำ เป็นต้น
1.
การบดละเอียดวัตถุดิบอาหาร
การบดละเอียด
ได้แก่ การทำให้วัตถุดิบอาหารมีขนาดชิ้นเล็กลง ทั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยให้วัตถุดิบอาหารชนิดต่างๆ
มีการผสมเข้ากันได้ดี ส่วนผสมมีความคงทนไม่เกิดการแยกชั้น
นอกจากนี้ชิ้นอาหารที่มีขนาดเล็กจะดูดน้ำได้เร็ว
ทำให้เมื่ออาหารได้รับความร้อนในระหว่างกระบวนการผลิตอาหาร หรือในกระบวนการอัดเม็ด
แป้งจะสุกได้เร็วและทั่วถึงทั้งหมด การบดวัตถุดิบอาหารให้ละเอียดจึงเป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งในกระบวนการผลิตอาหารสัตว์น้ำ
โดยทั่วไปการผลิตอาหารปลาจะบดวัตถุดิบอาหารให้มีความละเอียด 350 ไมครอน (90%
ของอาหารบดระเอียดผ่านรูตระแกรงขนาด
0.35 มม.)
ในขณะที่การผลิตอาหารกุ้งทะเลจะบดวัตถุดิบอาหารให้มีความละเอียดไม่น้อยกว่า 250 ไมครอน(90%
ของวัตถุดิบอาหารบดละเอียดผ่านรูตระแกรงขนาด 0.25 มม.)
จึงจะทำให้แป้งในอาหารสุกดีเมื่อผ่านกระบวนการอัดเม็ด อาหารต้องมีความคงทนในน้ำดี
สัตว์น้ำสามารถย่อยได้ดี
สำหรับเครื่องบดอาหารที่ใช้ในการบดละเอียดอาหารสัตว์น้ำที่นิยมใช้กันทั่วไป ได้แก่
1.1
เครื่องบดแบบแฮมเมอร์มิลล์
ควรบดด้วยตระแกรงบดขนาดรูตระแกรง 1.0 มม. เป็นจำนวนอย่างน้อย 2 ครั้ง
เพื่อให้ได้ความละเอียด 350 ไมครอน และทำการบดจำนวนอย่างน้อย 3-4 ครั้ง
เพื่อให้ได้ความละเอียดของวัตถุดิบอาหาร 250 ไมครอน
1.2
เครื่องบดแบบพินมิลล์
ควรบดด้วยตระแกรงบดขนาดรูตระแกรง 1.0 มม. เป็นจำนวนอย่างน้อย 2 ครั้ง
เพื่อให้ได้ความละเอียด 350 ไมครอน และทำการบดจำนวนอย่างน้อย 3-4 ครั้ง
เพื่อให้ได้ความละเอียดของวัตถุดิบอาหาร 250 ไมครอน
1.3
เครื่องบดแบบโม่หิน
ใช้บดละเอียดวัตถุดิบอาหารสำหรับเลี้ยงสัตว์น้ำได้ดีเช่นกัน
โดยความละเอียดของการบดละเอียดสามารถปรับได้โดยการปรับระยะความชิดห่างของจานหิน
1.4
เครื่องพลูเวอไรเซอร์
เป็นเครื่องบดละเอียดที่มีประสิทธิภาพสูงมาก โดยปกติ
มักใช้บดวัตถุดิบอาหารในการผลิตอาหารสัตว์น้ำในเชิงการค้า
เครื่องบดละเอียดชนิดแฮมเมอมิลล์
ชนิดพินมิลล์และชนิดโม่หิน
เป็นเครื่องบดวัตถุดิบอาหารที่เกษตรกรนิยมใช้บดวัตถุดิบอาหารสัตว์น้ำในฟาร์มมากที่สุด
เพราะมีราคาถูก แม้จะมีกำลังการบดละเอียดต่อชั่วโมงไม่สูง
แต่ก็เพียงพอสำหรับการผลิตอาหารสัตว์น้ำใช้เองในฟาร์มของเกษตรกร
2.
เครื่องผสมอาหารสัตว์ที่ใช้กันทั่วไปมี 2 ชนิด คือ
2.1
เครื่องผสมแบบถังตั้ง เป็นเครื่องผสมอาหารที่เหมาะกับวัตถุดิบอาหารที่มีลักษณะแห้ง
ความชื้นต่ำ ผสมเข้ากันง่าย เช่น ปลายข้าว ข้าวโพด มันเส้น กากถั่วเหลือง ปลาป่น
ฯลฯ เครื่องผสมมีราคาถูกและใช้แรงม้าต่ำ (เครื่องผสมขนาด 1 ตัน
ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 3-5 แรงม้า) แต่ต้องการระยะเวลาผสมนาน
โดยเครื่องผสมถังตั้งแบบเกลียวผสมเดี่ยว ใช้ระยะเวลา 25-30 นาที
หลังจากป้อนวัตถุดิบอาหารตัวสุดท้ายเข้าเครื่องแล้ว
แต่ถ้าเป็นเครื่องผสมแบบถังตั้งเกียวผสมคู่ จะใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที
หลังป้อนวัตถุดิบอาหารสัตว์ตัวสุดท้ายเข้าเครื่องแล้ว
เครื่องผสมแบบนี้ยังสามารถผสมไขมัน หรือกากน้ำตาลได้
แต่จะต้องมีการคลุกวัตถุดิบอาหารที่เป็นของเหลวหรือวัตถุดิบอาหารที่มีความหนืดกับวัตถุดิบอาหารที่มีลักษณะแห้งก่อนแล้วจึงป้อนเข้าในเครื่องผสมอาหาร
ซึ่งจะช่วยให้วัตถุดิบอาหารที่เป็นของเหลวดังกล่าวมีการกระจายตัวดีขึ้น
และลดการติดขัดของเครื่องผสมอาหารด้วย
อย่างไรก็ตามเครื่องผสมอาหารชนิดนี้ไม่เหมาะกับการผสมวัตถุดิบอาหารที่มีความชื้นสูง
เช่น กากมันสำปะหลังสด กากนมถั่วเหลืองสด ปลาสด ฯลฯ หากต้องการใช้วัตถุดิบอาหารสด
หรือวัตถุดิบอาหารที่มีความชื้นสูง ควรจะใช้เครื่องผสมถังนอนแบบใบพายจะดีที่สุด 2.1
เครื่องผสมอาหารแบบถังนอนชนิดใบพาย เป็นเครื่องผสมอาหารที่มีประสิทธิภาพสูง
สามารถผสมอาหารให้เข้ากันได้ดีมากและใช้ระยะเวลาในเพียง 4 นาทีเท่านั้น
หลังจากป้อนวัตถุดิบอาหารตัวสุดท้ายเข้าไปในเครื่องแล้ว การผสมวัตถุดิบอาหารที่มีลักษณะหนืด
เช่น ไขมัน หรือน้ำมันจากทั้งพืชและสัตว์ที่ใช้ผสมอาหาร
รวมทั้งการผสมน้ำลงในอาหารก่อนการอัดเม็ดก็สามารถใส่วัตถุดิบอาหารเหล่านั้นลงไปในเครื่องได้โดยตรง
ไม่ต้องคลุกหรือผสมกับวัตถุดิบอาหารแห้งก่อน จึงทำให้สะดวกในการใช้งานมาก
นอกจากนี้เครื่องผสมดังกล่าวยังสามารถใช้ผสมวัตถุดิบอาหารที่มีลักษณะเปียก เช่น
กากมันสำปะหลัง กากนมถั่วเหลือง ปลาสด หรือไส้ไก่สดได้ดี
โดยไม่ต้องผสมกับวัตถุดิบอาหารที่มีลักษณะแห้งก่อน
ส่วนเครื่องผสมอาหารแบบถังนอนชนิดเกลียวริบบอนเป็นเครื่องผสมอาหารแบบถังนอนอีกชนิดหนึ่ง
แต่ไม่เหมาะที่จะใช้ในการผสมอาหารสัตว์น้ำที่มีการใช้วัตถุดิบอาหารที่มีลักษณะหนืดมาก
เครื่องผสมอาหารดังกล่าวจะเหมาะกับการผสมวัตถุดิบอาหารที่มีลักษณะแห้ง เช่น
สูตรอาหารสุกรและสัตว์ปีกมากกว่า
2.3 เครื่องผสมคอนกรีต เป็นเครื่องผสมที่สามารถประยุกต์ใช้เป็นเครื่องผสมอาหารสัตว์น้ำได้เช่นเดียวกัน
โดยสามารถผสมได้ทั้งวัตถุดิบอาหารที่มีลักษณะแห้ง
และวัตถุดิบอาหารที่มีลักษณะเปียก หรือหนืด รวมทั้งสามารถผสมน้ำลงในอาหารได้เช่นเดียวกันเพียงแต่เครื่องผสมคอนกรีตที่ใช้โดยทั่วไปจะมีถังผสมขนาดเล็ก
อีกทั้งขณะผสมต้องเอียงถังผสม จึงทำให้ผสมอาหารในแต่ละครั้งได้น้อย
แต่อย่างไรก็ตามเครื่องผสมคอนกรีตถือว่าเป็นเครื่องผสมที่มีราคาถูกและหาง่ายที่สุด
3.
การทำอาหารปั้นก้อน และการอัดเม็ดอาหาร
3.1
การทำอาหารปั้นก้อน ได้แก่
การทำอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยการปั้นอาหารที่มีความชื้นสูงเป็นก้อนที่มีความเหนียว
อาหารไม่ละลายน้ำ แล้ววางก้อนอาหารใต้น้ำเพื่อให้สัตว์น้ำมาตอดกินอาหารจนหมด
อาหารปั้นก้อนเกิดจากการนำอาหารแห้งที่ผสมเสร็จเรียบร้อยแล้วมาคลุกหรือผสมกับน้ำให้มีความชื้นประมาณ
50%
จากนั้นจึงทำการนวดและขยี้อาหารเพื่อให้แป้งในอาหารเกิดลักษณะเหนียวเป็นก้อน
ไม่ละลายน้ำแล้วจึงนำไปวางใต้น้ำเพื่อให้สัตว์น้ำ เช่น ปลามาตอดกินอาหารดังกล่าว
การนวดอาหารหากใช้แรงงานคนจะเสียเวลาและทำได้ช้ามาก อีกทั้งต้องการแรงงานมาก
ในเชิงปฎิบัติอาจใช้เครื่องบดแบบมินเซอร์(เครื่องบดเนื้อ)
ซึ่งมีขายตามท้องตลาดทั่วไปมาช่วยเพราะภายในเครื่องบดแบบมินเซอร์มีเกลียวสกรูที่สามารถนวดอาหารที่อยู่ในเครื่องจนแป้งเกิดการสุก(Gelatinization)
สัตว์น้ำสามารถย่อยและใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น อีกทั้งเนื้อแป้งมีการแปรสภาพให้มีความหนืดมากขึ้น
ทำให้สามารถคงทนในน้ำได้ดี สัตว์น้ำสามารถกินอาหารได้หมด
น้ำในบ่อเลี้ยงจะไม่เน่าเสีย
แต่การใช้เครื่องมินเซอร์นวดอาหารเพียงตัวเดียวอาจจะไม่ก่อให้เกิดการสุกและความเหนียวของแป้งอย่างเพียงพอ
ในเชิงปฎิบัติกระบวนการผลิตอาหารปั้นก้อนมักจะมีการทำให้อาหารไหลผ่านเครื่องบดแบบมินเซอร์หลายตัว(4-5 ตัว)
เพื่อให้อาหารถูกนวดจนเป็นอาหารปั้นก้อนที่มีความเหนียวเพียงพอที่ใช้เลี้ยงสัตว์น้ำได้
การทำอาหารสัตว์น้ำแบบปั้นก้อนยังเหมาะกับการใช้วัตถุดิบอาหารเปียกหรืออาหารสดที่มีความชื้นสูง
เช่น กากมันสำปะหลังสด กากนมถั่วเหลืองสด ปลาสด ไส้ไก่สด ฯลฯ
โดยการนำวัตถุดิบอาหารเหล่านี้มาผสมกับวัตถุดิบอาหารแห้ง เช่น กากถั่วเหลือง
มันเส้นบด ฯลฯ รวมทั้งพรีมิกซ์ หัวไวตามิน-แร่ธาตุ
ทั้งนี้เพื่อเป็นการปรับโภชนะต่างๆ ในอาหารให้เพียงพอแก่ความต้องการของสัตว์น้ำ
ในขณะที่อาหารเมื่อผสมเสร็จแล้วจะมีความประมาณ 50%
จากนั้นจึงทำการแปรรูปอาหารผสมดังกล่าวเป็นอาหารปั้นก้อนเพื่อการใช้เลี้ยงสัตว์น้ำได้เลย
ขั้นตอนการผลิตอาหารปั้นก้อนได้
ข้อดีของการผลิตอาหารแบบปั้นก้อน
วิธีการดังกล่าวเหมาะกับการใช้วัตถุดิบอาหารเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีความชื้นสูง
หรือวัตถุดิบอาหารเปียก หรืออาหารสด เช่น กากมันสำปะหลังสด กากนมถั่วเหลืองสด
ปลาสด ไส้ไก่ ฯลฯ เพราะไม่ต้องทำให้วัตถุดิบอาหารเหล่านั้นแห้งก่อน
สามารถใช้ผสมอาหารในสภาพสดๆเปียกๆได้เลย แต่สัตว์น้ำสามารถกินอาหารได้หมด
น้ำในบ่อเลี้ยงไม่เน่าเสีย
ข้อด้อยของการผลิตอาหารแบบปั้นก้อน
อาหารปั้นก้อนต้องทำและใช้งานเลย
มื้อต่อมื้อของการเลี้ยงสัตว์น้ำทำให้เปลืองแรงงาน
และมีความยุ่งยากในการจัดการเลี้ยงสัตว์น้ำ
การเก็บวัตถุดิบอาหารเปียกหรืออาหารสดจะมีความยุ่งยากเพราะเน่าเสียง่าย
ในเชิงปฎิบัติมักจะไม่มีการเก็บไว้ใช้นานๆ มักจะซื้อแล้วรีบใช้ให้หมดเลย
จึงเป็นการเพิ่มความยุ่งยากในการบริหารและจัดการในการซื้อวัตถุดิบอาหารดังกล่าว
หากวัตถุดิบอาหารดังกล่าวเกิดการเน่าเสียก่อนที่ใช้ผสมอาหารก็จะก่อให้เกิดผลเสียต่อการเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นอย่างมาก
การทำอาหารเม็ดจมน้ำ
ได้แก่
การผลิตอาหารเม็ดสำหรับสัตว์น้ำที่ทำเป็นอาหารเม็ดแห้ง สามารถเก็บไว้นานขึ้น
แต่จมในน้ำขณะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยทั่วไปจะใช้เครื่องอัดเม็ดนิ่ม
หรือเครื่องบดแบบมินเซอร์ มาดัดแปลงเพื่อใช้ในการทำอาหารเม็ดจมน้ำดังกล่าว โดยมีขั้นตอนกระบวนการผลิตอาหาร
ดังนี้ คือ
วัตถุดิบอาหารเมื่อทำการบดจนได้ความละเอียดที่ต้องการแล้ว
จะต้องทำการชั่งวัตถุดิบอาหารแต่ละชนิดให้ได้ตามสัดส่วนในสูตรอาหาร
จากนั้นจึงนำวัตถุดิบอาหารแต่ละชนิดที่ชั่งแล้วมาผสมให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันหรือให้วัตถุดิบอาหารแต่ละชนิดมีการกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอในอาหารนั้น
การผสมให้เข้ากันอาจใช้วิธีการผสมด้วยแรงงานคนก็ได้ หรือจะใช้เครื่องผสมก็ได้ เมื่ออาหารสำเร็จที่ผสมเสร็จแล้ว
จะทำการผสมน้ำกับน้ำให้มีความชื้นเพิ่มขึ้นเป็น 20-25 เปอร์เซ็นต์
โดยการเติมน้ำอีกประมาณ 12-15 กก. ต่ออาหาร 100
กก.(อาหารมีความชื้นอยู่เดิมประมาณ 10-12 เปอร์เซ็นต์)
คลุกน้ำกับอาหารให้เข้ากันดีให้ความชื้นในอาหารมีการกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ
โดยทั่วไปจะใช้เครื่องผสมถังนอนแบบใบพายเป็นตัวช่วยผสม
จากนั้นจึงป้อนเข้าเครื่องอัดเม็ดแบบมินเซอร์
ซึ่งเครื่องอัดเม็ดจะรีดอาหารออกมาเป็นเส้นยาว จากนั้นเกษตรกรจึงนำเอาเส้นอาหารไปทำให้แห้งโดยวิธีการใดก็ได้
แต่วิธีที่ง่ายที่สุด คือ การผึ่งแดด
ระหว่างการผึ่งแดดต้องการมีเกลี่ยและกลับอาหารบนลานตากเป็นระยะๆ
เพื่อให้อาหารแห้งอย่างรวดเร็วและเสมอ
การเกลี่ยและกลับอาหารช่วยให้เส้นอาหารหักออกเป็นชิ้นสั้นลงและเหมาะกับการเลี้ยงสัตว์เพื่อมากขึ้น
เมื่ออาหารแห้งแล้วควรผึ่งอาหารในที่ร่มเพื่อให้อุณหภูมิลดลง
แล้วจึงเก็บใส่ภาชนะบรรจุ เช่น กระสอบ พลาสติก เพื่อให้สัตว์น้ำต่อไป แต่เนื่องจากอาหารสัตว์น้ำมีไขมันสูง
อาหารเม็ดที่แห้งแล้วสามารถเก็บสต็อคได้เพียงประมาณ 1
เดือนเท่านั้น หากเก็บนานกว่านี้ อาจมีปัญหาการหืนของไขมันในอาหาร
และไม่เหมาะที่จะใช้เลี้ยงสัตว์น้ำ
ข้อควรระวัง
ในการอัดเม็ดอาหารด้วยเครื่องอัดเม็ดแบบมินเซอร์ คือ ขณะทำการอัดเม็ดอาหาร
อุณหภูมิของอาหารต้องเพิ่มสูงขึ้น
จนแป้งในอาหารเกิดการสุกและมีลักษณะเหนียวหนืดออกมา ซึ่งการจะเกิดปรากฎการณ์นี้ได้ก็ต่อเมื่อเครื่องต้นกำลังของเครื่องอัดเม็ดต้องสูงพอ
โดยปกติแล้วเครื่องอัดเม็ดแบบมินเซอร์ เบอร์ 52 แนะนำให้ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด
15 แรงม้า แต่ถ้าใช้เครื่องยนต์เป็นต้นกำลัง
ควรใช้เครื่องยนต์ที่มีกำลังไม่น้อยกว่า 60 แรงม้า หรือจะใช้เครื่องยนต์ดีเซลรถยนต์ปิคอัพ
ขนาด 80 แรงม้าขึ้นไปก็ได้ เพราะปัจจุบันมีเครื่องยนต์ดังกล่าวที่ใช้แล้ว
และยังอยู่ในสภาพใช้งานได้ มีราคาถูกจำหน่ายอยู่ทั่วไป
เครื่องอัดเม็ดแบบมินเซอร์ดังกล่าวไม่แนะนำให้ใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลสูบเดียวที่ใช้กับรถไถนาเดินตามเพราะเครื่องยนต์ดังกล่าวมีกำลังม้าไม่เพียงพอ
ทำให้เกษตรกรต้องเพิ่มความชื้นในอาหารมากขึ้นจึงจะอัดอาหารออกมาได้
แต่อาหารจะไม่ร้อน แป้งไม่สุก การย่อยและการใช้ประโยชน์ในอาหารต่ำ
ทำให้การเติบโตของสัตว์น้ำไม่ดีตามไปด้วย การคงทนในน้ำของอาหารไม่ดี
เม็ดอาหารแตกตัวในน้ำก่อนสัตว์น้ำกินอาหารหมด ทำให้น้ำในบ่อเลี้ยงเน่าเสียเร็วด้วย
อย่างไรก็ตาม
แม้อาหารที่ผลิตได้จะเป็นอาหารเม็ดจมน้ำ แต่ในความเป็นจริงแล้ว
หากเครื่องต้นกำลังของเครื่องอัดมีกำลังมากพอ
อาหารที่อัดมีความชื้นในระดับที่เหมาะสม(20-25 เปอร์เซ็นต์)
อาหารออกมาจะมีอุณหภูมิสูง แป้งสุก และเส้นอาหารที่รีดออกมาจะมีลักษณะพองตัวเล็กน้อย
ซึ่งจะช่วยให้อาหารมีการจมน้ำช้าลง
สัตว์น้ำกินอาหารได้หมดก่อนอาหารจะตกถึงพื้นบ่อหรืออาหารที่จมลงไปถึงก้นบ่อแต่อาหารยังมีความคงทนในน้ำได้ดี
สัตว์ในบ่อสามารถตามมาเก็บกินได้หมดในระยะเวลาต่อมาการใช้อาหารเม็ดจมน้ำลักษณะนี้ก็สามารถใช้ในการเลี้ยงสัตว์น้ำได้ดีเช่นกัน
ข้อดีของการทำอาหารเม็ดจมน้ำโดยใช้เครื่องอัดแบบมินเซอร์
เครื่องอัดเม็ดดังกล่าวมีราคาถูก
แม้จะรวมการใช้เครื่องต้นกำลังที่เป็นเครื่องดีเซลใช้แล้ว
ก็ยังมีราคาพอที่เกษตรกรหาสามารถซื้อมาใช้ได้ อาหารเมื่อแห้งแล้วสามารถเก็บไว้ได้นาน
ทำให้ไม่เปลืองแรงงานในการผลิตอาหาร
อีกทั้งช่วยทำให้การจัดการดูแลในการเลี้ยงสัตว์น้ำง่ายขึ้นด้วย
อาหารที่เลี้ยงสัตว์น้ำอยู่ในรูปอาหารเม็ดมีความคงทนในน้ำดี
สัตว์น้ำกินอาหารได้หมด ลดการเน่าเสียของน้ำในบ่อได้มาก ทำให้น้ำในบ่อเลี้ยงมีคุณภาพดีขึ้น
ที่สำคัญกระบวนการผลิตอาหารเม็ดจมน้ำดังกล่าวมีราคาถูก
ทำให้ต้นทุนการผลิตอาหารมีราคาถูกตามไปด้วย เกษตรกรพอมีกำไรจากการเลี้ยงสัตว์น้ำ
ข้อด้อยของการทำอาหารเม็ดจมน้ำโดยใช้เครื่องอัดแบบมินเซอร์
อาหารที่ออกมาจากเครื่องอัดเม็ดแบบมินเซอร์ยังต้องการการทำให้แห้งซึ่งโดยทั่วไปจะใช้วิธีการผึ่งแดดเป็นหลัก
ซึ่งจะประสบปัญหาในฤดูฝนที่แสงแดดน้อยหรือไม่มีเลยจะกระทำได้ลำบากหรือกระทำไม่ได้เลย
อาหารที่แห้งช้าหรือไม่แห้งสนิทจะมีการเจริญของเชื้อราขึ้นได้ง่าย
ปัญหาดังกล่าวอาจแก้ไขได้ด้วยการทำเครื่องอบแห้งเม็ดอาหาร
แต่ก็มีการลงทุนเพิ่มมากขึ้น
การทำอาหารเม็ดลอยน้ำ
ได้แก่การทำอาหารสัตว์น้ำให้มีลักษณะพองตัวทำให้มีความถ่วงจำเพาะต่ำลงและต่ำกว่าน้ำ
เมื่อโยนอาหารนั้นลงในน้ำ เม็ดอาหารจะลอยน้ำ
ซึ่งจะมีข้อดีคือสามารถควบคุมการให้อาหารสัตว์น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาหารที่สัตว์น้ำกินไม่หมดและยังลอยอยู่บนผิวน้ำ
ซึ่งเกษตรกรสามารถช้อนทิ้งได้ ทำให้ลดการเน่าเสียของน้ำในบ่อได้
โดยปกติอาหารเม็ดลอยน้ำมักผลิตโดยบริษัทอาหารสัตว์โดยใช้เครื่องเอ็กทรูดเดอร์ที่มีราคาแพงมีกำลังการผลิตสูง(3-5 ตัน/ชั่วโมง) และมีค่าใช้จ่ายในการผลิตสูงตามไปด้วย
ซึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำแทบไม่มีโอกาสจะทำอาหารเม็ดลอยน้ำที่ฟาร์มโดยใช้เครื่องจักรดังกล่าวได้เลย
แต่ปัจจุบันได้มีผู้พัฒนาเครื่องเอ็กทรูดเดอร์ขนาดเล็กผลิตในประเทศไทยที่มีกำลังการผลิตอาหารเม็ดลอยน้ำได้ประมาณ
150-250
กก.ต่อชั่วโมง หรือวันละประมาณ 2,000-3,000 กก. ที่การทำงาน 8 ชั่วโมง ซึ่งก็เพียงพอสำหรับการใช้ในฟาร์ม
อีกทั้งมีราคาถูกอยู่ในวิสัยที่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำซื้อมาใช้ผลิตอาหารลอยน้ำใช้เองในฟาร์มได้
ดังนั้นการทำอาหารเม็ดลอยน้ำใช้เองในฟาร์มจึงมีความเป็นไปได้ในปัจจุบัน
เครื่องเอ็กทรูดเดอร์ขนาดเล็ก
หรือเครื่องทำอาหารลอยน้ำขนาดเล็ก
มีหลักการทำงานคล้ายเครื่องอัดเม็ดแบบมินเซอร์แต่เครื่องอัดเม็ดถูกออกแบบให้มีกระบอกอัดเม็ดยาวขึ้น
อีกทั้งเกลียวอัดภายในก็ถูกออกแบบให้สามารถนวดและขยี้อาหารให้เกิดความสุกมากขึ้นทั้งหมดมีผลทำให้ขณะทำการอัดเม็ดอาหารในกระบอกมีความร้อนและความดันเกิดสูงมาก
ทำให้อาหารในกระบอกแปรสภาพเป็นของเหลวและน้ำในอาหารจะร้อนจนเดือดเป็นไอ
เมื่ออาหารหลุดออกมาจากกระบอกอัดอาหารจะเกิดการพองตัวทันทีและความชื้นก็จะระเหยออกอย่างรวดเร็วด้วยทำให้อาหารแห้งเร็วแม้ยังมิได้ผึ่งแดดก็ตาม
การปฎิบัติการผลิตอาหารเม็ดลอยน้ำก็กระทำคล้ายกับการอัดเม็ดอาหารจมน้ำด้วยเครื่องแบบมินเซอร์
โดยอาหารแห้งที่บดและผสมเรียบร้อยแล้วตามจะต้องมีการเพิ่มความชื้นสูงขึ้นเป็น 20%-25%
โดยการเติมน้ำอีกประมาณ
12-15 กก. ต่อ
อาหาร 100 กก.(อาหารมีความชื้นอยู่เดิมประมาณ
10-12
เปอร์เซ็นต์)คลุกน้ำกับอาหารให้เข้ากันได้ดีให้ความชื้นในอาหารมีการกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ
โดยทั่วไปจะใช้เครื่องผสมถังนอนแบบใบพายเป็นตัวช่วยผสม
จากนั้นจึงทำการป้อนอาหารเข้าเครื่องให้เป็นเส้นอาหารยาวออกมาเช่นเดียวกันแต่อาหารจะมีลักษณะพองตัว
โดยตรงปลายกระบอกอัดซึ่งเป็นทางออกของอาหาร
จะมีใบมีดหมุนเพื่อเส้นอาหารให้มีขนาดสั้นยาวได้ตามความต้องการได้
ชิ้นอาหารที่สั้นและพองตัวจะมีผลทำให้เม็ดอาหารมีลักษณะกลมเหมือนกับอาหารลอยน้ำที่ผลิตโดยบริษัทอาหารสัตว์ทั่วไป
อาหารเม็ดที่ออกมาจากเครื่องจะแห้งอย่างรวดเร็ว เพราะการระเหยของน้ำในเม็ดอาหาร แต่ถ้าใช้พัดลมเป่าเม็ดอาหารช่วยด้วยจะทำให้อาหารนั้นแห้งเร็วขึ้น
ข้อดีของการทำอาหารเม็ดลอยน้ำด้วยเครื่องเอ็กทรูดเดอร์ขนาดเล็ก
แป้งในอาหารมีความสุกมากกว่าอาหารปั้นก้อนหรืออาหารเม็ดจมน้ำที่ทำโดยเครื่องอัดแบบมินเซอร์
ทำให้สัตว์น้ำสามารย่อยและใช้ประโยชน์อาหารได้ดีกว่า อาหารที่ผลิตได้มีการลอยน้ำเกือบทั้งหมดทำให้สะดวกในการจัดการให้อาหารสัตว์น้ำ
อีกทั้งสามารถซ้อนอาหารที่สัตว์น้ำกินไม่หมดทิ้งได้ ช่วยลดการเน่าเสียของน้ำในบ่อ
อาหารที่ออกมาจากเครื่องอัดจะค่อนข้างแห้งเร็ว จึงไม่ค่อยมีปัญหาในการทำให้แห้ง
รวมทั้งการทำในช่วงฤดูฝนด้วย
ที่สำคัญคือเครื่องเอ็กทรูดเดอร์ดังกล่าวมีราคาค่อนข้างถูก(ประมาณ 150,000-200,000
บาท
ที่กำลังการผลิต 150-200
กก./ชั่วโมง)
อีกทั้งค่าใช้จ่ายการผลิตต่อหน่วยก็ถูกกว่าเครื่องเอ็กทรูดเดอร์ขนาดใหญ่
จึงทำให้ต้นทุนค่าอาหารลดลงได้มาก ็็
|